เกจวัดแรงดัน (pressure gauge)
“เพราะเกจวัดแรงดันก็เหมือนอวัยวะ เลือกดีก็ปัง เลือกไม่ดีก็พัง” สำนวนนี้ไม่เกินจริงเลยครับ หากคุณกำลังมองหาเพรสเชอร์เกจสักตัว ควรทำความรู้จักเกจวัดแรงดัน , รู้จักส่วนประกอบและวิธีการเลือกใช้งานให้เหมาะสม
วันนี้ ไดอะแฟรม.com มีคู่มือในการเลือกเครื่องมือวัดความดันชนิดนี้ ตั้งแต่เบสิกจนรู้จริงเลยครับ
ทำความรู้จักเกจวัดแรงดัน
เกจวัดแรงดัน คืออะไร มีหน้าที่อะไรในระบบอุตสาหกรรม ?
เกจวัดแรงดัน(เพรสเชอร์เกจ) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Pressure Gauge คือ เครื่องมือวัดความดัน ที่สำคัญมาก ๆ ในระบบอุตสาหกรรมหรือแม้แต่ภาคครัวเรือน ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันในระบบปิด ไม่ให้เกินจากระดับที่ตั้งไว้ส่วนประกอบของเกจวัดแรงดัน
มาตรวัดตัวนี้ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ครับ
Dial หรือ หน้าปัด
คือ ส่วนที่ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดัน โดยบนหน้าปัดจะประกอบไปด้วย เข็มชี้(Pointer), ค่าแรงดันและหน่วยแรงดัน
ระบบส่งแรงดัน
บูร์ดอง(Bourdon) พบได้ใน Analog Pressure Gauge ใช้หลักการยืดและหดเพื่อคู่กับกลไกเฟืองในตัวเกจเพื่อแสดงค่าแรงดัน
เซนเซอร์วัดแรงดัน(Pressure Sensor) ทำหน้าที่ส่งแรงดันคล้ายกับบูร์ดอง แต่มีความซับซ้อนมากกว่าเพราะใช้สัญญาณไฟฟ้าแปลงค่าแรงดันเป็นดิจิทัลครับ
ไดอะแฟรมซีล(Diaphragm Seal) มีลักษณะเป็นแผ่นบางโดยมีพื้นผิวคล้ายลูกคลื่น ทำหน้าที่ส่งแรงดันเช่นเดียวกัน แต่มีข้อดีคือสามารถป้องกันเศษตะกอนในระบบเข้าไปยังเครื่องมือวัดความดันได้ครับ
ลักษณะการติดตั้ง(Installation)
คือส่วนที่มีไว้สำหรับติดตั้งเกจวัดแรงดันเข้ากับระบบท่อ โดยอาจแตกต่างกันไปตามหน้างานเช่น ติดตั้งแบบหน้าแปลน, เกลียว, Ferrule, Union ครับ
อุปกรณ์เสริม(Optional)
อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น ตัวส่งสัญญาณ Contact เพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ตัวอย่างที่พบ เช่น Electronic Contact Pressure รุ่น 1713 ยี่ห้อ OCTA
เครื่องมือวัดความดัน (Pressure Instrument)
เกจวัดแรงดันคุณภาพสูง ของแบรนด์ OCTA อันดับ 1 เรื่องความคุ้มค่าของเครื่องมือวัดแรงดัน
Pressure Sensor OCTA
เซนเซอร์วัดแรงดัน หรือ Pressure
Transmitter แปลงเป็น 4-20mA
ไดอะแฟรมซีล (Diaphragm Seal)
อุปกรณ์เสริม (Accessories)
บทสรุป เกี่ยวกับ เกจวัดแรงดัน
เกจวัดแรงดัน คืออะไร มีหน้าที่อะไรในระบบอุตสาหกรรม ?
เกจวัดแรงดัน(เพรสเชอร์เกจ) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Pressure Gauge คือ เครื่องมือวัดความดัน ที่สำคัญมาก ๆ ในระบบอุตสาหกรรมหรือแม้แต่ภาคครัวเรือน ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันในระบบปิด ไม่ให้เกินจากระดับที่ตั้งไว้- Dial หรือ หน้าปัด คือ ส่วนที่ใช้สำหรับอ่านค่าแรงดัน โดยบนหน้าปัดจะประกอบไปด้วย เข็มชี้(Pointer), ค่าแรงดันและหน่วยแรงดัน
- ระบบส่งแรงดัน คือ ตัวกลางที่ทำหน้าที่รับแรงดันจากระบบส่งไปยังหน้าปัด โดยจะมี 3 แบบหลัก ๆ ได้แก่
- บูร์ดอง(Bourdon) พบได้ใน Analog Pressure Gauge ใช้หลักการยืดและหดเพื่อคู่กับกลไกเฟืองในตัวเกจเพื่อแสดงค่าแรงดัน
- เซนเซอร์วัดแรงดัน(Pressure Sensor) ทำหน้าที่ส่งแรงดันคล้ายกับบูร์ดอง แต่มีความซับซ้อนมากกว่าเพราะใช้สัญญาณไฟฟ้าแปลงค่าแรงดันเป็นดิจิทัลครับ
- ไดอะแฟรมซีล(Diaphragm Seal) มีลักษณะเป็นแผ่นบางโดยมีพื้นผิวคล้ายลูกคลื่น ทำหน้าที่ส่งแรงดันเช่นเดียวกัน แต่มีข้อดีคือสามารถป้องกันเศษตะกอนในระบบเข้าไปยังเครื่องมือวัดความดันได้ครับ
- ลักษณะการติดตั้ง(Installation) คือส่วนที่มีไว้สำหรับติดตั้งเกจวัดแรงดันเข้ากับระบบท่อ โดยอาจแตกต่างกันไปตามหน้างานเช่น ติดตั้งแบบหน้าแปลน, เกลียว, Ferrule, Union ครับ
- อุปกรณ์เสริม(Optional) อาจมีการติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น ตัวส่งสัญญาณ Contact เพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ตัวอย่างที่พบ เช่น Electronic Contact Pressure รุ่น 1713 ยี่ห้อ OCTA
- ช่วงการวัดแรงดันของเพรสเชอร์เกจแยกได้ 3 ช่วงดังนี้ครับ
- Vacuum Pressure : แวคคั่มเพรสเชอร์ คือการวัดแรงดันสูญญากาศ เช่น -1 ถึง 0 bar , -145 ถึง 0 psi หรืออาจเป็นหน่วย mmHg ที่นิยมใช้ในทันตกรรมก็ได้เช่นกันครับ
- Compound Pressure : คอมปาวด์เพรสเชอร์ คือช่วงการวัดติดลบจนถึงช่วงแรงดันปกติ ช่วงที่พบบ่อยคือ -1-3 bar, -1-5 bar, -1-9 bar ครับ
- Normal Pressure : คือช่วงแรงดันทั่วไป เริ่มต้นตั้งแต่ 0 bar, 10 bar สูงสุดที่พบทั่วไปคือ 1,000 bar ครับ
เกจวัดแรงดันแบ่งตามลักษณะการวัดจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
- เกจวัดแรงดันเชิงกล หรือ อนาล็อกเกจ (Analog Pressure Gauge) : เป็นเกจที่ใช้หลักการของบูร์ดอง โดยอ่านค่าจากตัวชี้(Pointer)
- เกจวัดแรงดันดิจิตอล(Pressure Gauge Digital) : เพรสเชอร์เกจแบบดิจิตอลใช้หลักการของ เซนเซอร์วัดความดัน มีการทำงานที่ซับซ้อนและแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขดิจิทัล
- เกจวัดแรงดันอนาล็อกราคาถูกกว่าแบบดิจิตอล
- เกจวัดแรงดันดิจิตอล สามารถแสดงผลเป็นตัวเลข ทำให้ผู้จดบันทึกสามารถทราบค่าแรงดันทันที โอกาสเกิดความผิดพลาดน้อยกว่าเพราะแสดงผลเป็นตัวเลข
- เกจแบบอนาล็อกมีความทนทานและการบำรุงรักษาที่ง่ายกว่า
- การติดตั้งเกจดิจิตอลควรหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีสนามแม่เหล็ก เพราะทำให้การทำงานของเซนเซอร์ผิดพลาดได้
- จากการสำรวจตลาดมีเกจวัดแรงดันยี่ห้อต่าง ๆ ที่พบได้ดังนี้ครับ
- OCTA
- Nuovafima
- IK
- Weksler
- Darhor
อันที่จริงมีอีกหลายยี่ห้อเลยครับแต่ ไดอะแฟรม.com ขอนำมาเฉพาะยี่ห้อที่จำหน่ายในรูปแบบบริษัท สามารถเปิดบิลหรือใบกำกับภาษีได้
หากคุณมองหาบริษัทที่จำหน่ายเกจวัดแรงดันที่ครอบคลุมทั้งงานน้ำ งานลม งานไฮดรอลิค สามารถติดต่อผู้จำหน่ายได้ตามที่อยู่ด้านล่างนี้เลยครับ